โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ “อาการบ้านหมุน” หรือ “เวียนหัวบ้านหมุน” ที่หลายคนเคยได้ยิน หรือบางคนเคยเป็น คือหนึ่งในอาการของโรค บางคนอาจแค่นั่งพักอาการนี้ก็หายไป แต่บางคนอาจเวียนศีรษะอย่างรุนแรงและมีอาเจียนร่วมด้วย ดังนั้นหากอาการไม่ดีขึ้น หรือรู้สึกว่าอาการที่เป็นรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันก็อย่านิ่งนอนใจ หากเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัดจะเป็นการดีที่สุด

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน คืออะไร

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ โรคมีเนีย (Meniere’s disease) เกิดขึ้นจากความผิดปกติของน้ำในหูชั้นในที่มีแรงดันของน้ำในหูมากเกินปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะ จนเหมือนกับบ้านหมุนไปด้วย บางรายอาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ไม่สามารถทรงตัวได้ รวมไปถึงปัญหาจากระบบการได้ยิน เช่น ได้ยินเสียงลดลงมีเสียงรบกวนในหู และหูอื้อ แต่อาการผิดปกติดังกล่าวอาจพบได้ในโรคของหูชั้นนอกหรือชั้นกลาง รวมทั้งโรคทางสมองและระบบเส้นประสาทก็ได้ ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาที่เหมาะสม

อาการของโรค

จะประกอบด้วยอาการสำคัญ 3 อาการคือ เวียนศีรษะ (vertigo) มีเสียงดังในหู (tinnitus) และการได้ยินลดลง (hearing loss) ซึ่งแตกต่างจากการเวียนหัวธรรมดาที่จะมีเพียงอาการเวียนหัวเพียงอาการเดียวเท่านั้น

  • ลักษณะการเวียนศีรษะ

คือ มีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน ส่วนใหญ่ไม่เกินครึ่งชั่วโมง แต่บางครั้งอาจมีอาการนานเป็นชั่วโมงได้ อาการเวียนศีรษะเป็นอาการที่รบกวนผู้ป่วยมากที่สุด ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ต้องนอนพัก

  • ลักษณะการได้ยินที่ลดลงของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้น

มีอาการหูอื้อ ได้ยินไม่ชัด รู้สึกแน่นในหูเป็นๆหายๆ บางครั้งการได้ยินดีขึ้น บางครั้งการได้ยินเลวลง ในระยะแรกเริ่มมักมีการเสียของประสาทหูที่ความถี่ต่ำก่อน แต่ในระยะยาวแล้วระดับการได้ยินจะแย่ลงเรื่อย ๆ อาจถึงขั้นหูหนวกได้ ในระยะแรกอาจมีอาการที่หูข้างเดียว ในระยะหลังอาจมีอาการที่หูทั้งสองข้าง มีอาการปวดหู หรือปวดศีรษะข้างที่เป็นด้วยได้

โรคน้ำในหูไม่เท่ากันส่งผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทรงตัว และการได้ยิน จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้

  • เวียนศีรษะอย่างรุนแรง รู้สึกบ้านหมุน โดยมีอาการอยู่นาน อาจจะเป็นชั่วโมง ซึ่งอาการจะมาๆ หายๆ
  • บางครั้งจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับการสูญเสียสมดุลของร่างกาย จึงทำให้เซล้มได้ง่าย
  • หูอื้อ ได้ยินไม่ชัด รู้สึกแน่นในหูเป็นๆ หายๆ การได้ยินบางครั้งดีขึ้น บางครั้งก็แย่ลง
  • มีเสียงดังในหู อาจเป็นเสียงวี้ดๆ มีอาการหนักๆ หน่วงๆ ในหู คล้ายมีแรงดันในหู

สาเหตุของโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

ปัจจุบันยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เกิดจากสาเหตุใด แต่มีหลายปัจจัยที่เป็นส่วนสำคัญในการเกิดโรค เช่น

  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากันเกิดจากกรรมพันธุ์
    พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีคนในครอบครัวเป็นไมเกรน หรือมีโครงสร้างหูชั้นในผิดปกติ
  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากันเกิดจากการติดเชื้อไวรัส
    หูชั้นกลาง หูชั้นในเกิดการอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากันเกิดจากการเป็นโรคต่างๆ
    โรคภูมิแพ้ โรคซิฟิลิส โรคหูน้ำหนวก โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ และไขมันในเลือดสูง
  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากันเกิดจากฮอร์โมน
    มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน รวมถึงการมีประจำเดือน
  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากันเกิดจากพฤติกรรม
    การพักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียด สูบบุหรี่ รวมถึงการรับประทานอาหารโซเดียมสูง และอาหารรสเค็มจัด
  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากันเกิดจากสภาพแวดล้อม
    อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังอึกทึกมากๆ

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

วิธีการรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

แพทย์เฉพาะทางจะเป็นผู้ตรวจและรักษาผู้ป่วยตามอาการของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันที่ประเมินได้ในแต่ละราย เช่น

  • ปรับพฤติกรรม
    หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง แพทย์จะแนะนำให้พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกาย และพยายามคลายความวิตกกังวล
  • การรับประทานยา
    เป็นการบรรเทาอาการ เช่น การทานยาขับปัสสาวะ เพื่อลดสภาวะอาการบวม และการคั่งของน้ำในหูชั้นใน รวมทั้งยาขยายหลอดเลือดจะช่วยให้การไหลเวียนของน้ำในหูดีขึ้น ยาลดอาการเวียนศีรษะและคลื่นไส้อาเจียน ตลอดจนยากล่อมประสาทและยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและนอนหลับได้เป็นปกติ ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • การฉีดยา
    แพทย์จะทำการฉีดยาเข้าไปที่หูชั้นในโดยตรง เพื่อทำลายเซลล์ที่ก่อให้เกิดอาการเวียนศีรษะ และเมื่อเซลล์ตายอาการดังกล่าวจะหายไป โดยไม่ต้องทำการผ่าตัดรักษา
  • การผ่าตัด
    ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะไม่หาย มีอาการรุนแรง รักษาด้วยวิธีต่างๆ แล้วไม่ดีขึ้น แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อระบายน้ำที่คั่งอยู่ในหูชั้นในออก

ประกอบด้วยการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเวลาเวียนศีรษะ การให้ยาบรรเทาอาการ

1. การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเวลาเวียนศีรษะ

  • เมื่อมีอาการเวียนศีรษะขณะเดิน ควรหยุดเดินและนั่งพัก เพราะการฝืนเดินขณะเวียนศีรษะ อาจทำให้ผู้ป่วยล้ม เกิดอุบัติเหตุได้ เช่นกัน ถ้าอาการเวียนศีรษะเกิดขณะขับรถ หรือขณะทำงาน ควรหยุดรถข้างทาง หรือหยุดการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักรกล ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุได้ ถ้าเวียนศีรษะมากควรนอนบนพื้นราบที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น พื้น และผู้ป่วยควรมองไปยังวัตถุที่อยู่นิ่ง ไม่เคลื่อนไหว
  • รับประทานยาที่แพทย์ให้รับประทานเวลาเวียนศีรษะ
  • พยายามอย่ารับประทานหรือดื่มมากนัก จะได้มีโอกาสอาเจียนน้อยลง
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยทางเรือ เพราะจะทำให้มีอาการเวียนศีรษะมากขึ้นได้
  • ถ้าอาการเวียนศีรษะน้อยลง ค่อย ๆ ลุกขึ้น แต่อาจรู้สึกง่วงหรือเพลียได้ แนะนำให้นอนหลับพักผ่อน ถ้าง่วงหลังตื่นนอน อาการมักจะดีขึ้น

2. การให้ยาบรรเทาอาการ และรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

  • ควรจำกัดความเค็ม เพราะความเค็มหรือเกลือโซเดียมที่มีปริมาณมากขึ้นในร่างกาย จะทำให้มีน้ำคั่งในร่างกาย และในหูชั้นในมากขึ้น อาจทำให้อาการผู้ป่วยแย่ลงได้
  • ให้ยาบรรเทาอาการเวียนศีรษะ หรือคลื่นไส้ อาเจียน
  • การรับประทานยาขยายหลอดเลือด(ฮิสตะมีน) จะช่วยให้การไหลเวียนของน้ำในหูดีขึ้น
  • ถ้าผู้ป่วยหายเวียนศีรษะแล้ว ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน
  • หลีกเลี่ยงสารคาเฟอีน (ชา เครื่องดื่มน้ำอัดลม และกาแฟ) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และความเครียด ซึ่งจะทำให้อาการของผู้ป่วยโรคนี้แย่ลง เนื่องจากจะไปลดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

เมื่อเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ต้องดูแลตัวเองและปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างชา กาแฟ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกหมู่
  • หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากมีเสียงรบกวนในหูขณะนอนหลับ ให้เปิดเพลงคลอเบาๆ เพื่อกลบเสียงนั้น
  • พยายามหากิจกรรมเพื่อคลายความเครียด ลดความวิตกกังวล
  • หากผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะกะทันหัน ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือการปีนป่ายที่สูง ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือเสี่ยงอันตรายได้

การวินิจฉัยโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคน้ำในหูไม่เท่ากันได้จากการซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียด และการตรวจร่างกาย ถ้าผู้ป่วยมาด้วยอาการดังกล่าว แพทย์ก็มักให้การวินิจฉัยได้ ซึ่งพบว่าผู้ป่วยประมาณ 50% เท่านั้นที่มีอาการดังกล่าวเด่นชัด ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่ชัดเจนก็จำเป็นต้องอาศัยการตรวจพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัยและแยกจากโรคหรือภาวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • การซักประวัติอาการ เช่น ลักษณะอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน ความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาและความถี่ของอาการทางหู
  • การซักประวัติสุขภาพ เช่น ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต, ประวัติโรคซิฟิลิส, ประวัติการผ่าตัดหู, โรคทางระบบประสาท, โรคภูมิแพ้, โรคภูมิคุ้มกัน, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคไทรอยด์, โรคคางทูม, โรคการอักเสบของตา เป็นต้น
  • การตรวจร่างกาย เช่น การตรวจหู คอ จมูก และระบบประสาท, การตรวจระบบสมดุลของร่างกาย, การตรวจดูการเคลื่อนไหวของลูกตาในท่าทางต่าง ๆ, การวัดความดันโลหิตในท่านอน ท่านั่ง และท่ายืน (เพื่อตรวจหาความดันเลือดต่ำในขณะเปลี่ยนท่า) เป็นต้น
  • การตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometry), การตรวจการทำงานของอวัยวะทรงตัวของหูชั้นใน (Electronystagmography – ENG), การตรวจคลื่นไฟฟ้าในหูชั้นใน (Electrocochleography – ECOG) ถ้าตรวจออกมาได้ผลบวกจะค่อนข้างมั่นใจว่าผู้ป่วยเป็นโรคนี้, การตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง (Auditory Brainstem Response – ABR), การเจาะเลือด (เพื่อหาภาวะซีด เลือดข้น มะเร็งเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดมากผิดปกติ ระดับไขมันในเลือดสูง ระดับยูริกในเลือดสูง เบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำเกินไป โรคไต โรคภูมิแพ้ตัวเอง การติดเชื้อซิฟิลิสหรือเอดส์ การทำงานของต่อมไทรอยด์ที่ผิดปกติ), การตรวจปัสสาวะ (เพื่อดูว่ามีโรคไตหรือไม่), การถ่ายภาพรังสีกระดูกคอ, การตรวจพิเศษทางรังสี (เฉพาะในรายที่สงสัยว่าอาจมีเนื้องอกของเส้นประสาทการทรงตัวหรือความผิดปกติทางสมอง เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan) หรือตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)), การตรวจการไหลเวียนของเลือดผ่านเส้นเลือดใหญ่ไปสู่สมอง โดยใช้อัลตราซาวนด์ (สามารถบอกแรงดันเลือด ความเร็วของการไหล และความไม่สมดุลของการไหลเวียนของเลือดได้), การตรวจหาความผิดปกติของหัวใจ (EKG) เป็นต้น
หากไม่อยากเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ต้องหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพให้มากขึ้น จัดสรรเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ กับคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวเพื่อเติมความสุขความสดใสให้สุขภาพใจ เมื่อร่างกายแข็งแรง ใจแข็งแกร่ง โรคใดๆ ก็ยากที่จะเข้ามากล้ำกรายได้

 

เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 

ที่มาของบทความ

 

ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  theboxticked.com

สนับสนุนโดย  ufabet369